ประชุมค้นหาแนวทางพัฒนากลุ่มออมทรัพย์นักพัฒนาภาคใต้

by Little Bear @22 พ.ค. 51 08:30 ( IP : 61...51 ) | Tags : ข่าวสารประชาสัมพันธ์

ประชุมค้นหาแนวทางพัฒนากลุ่มออมทรัพย์นักพัฒนาภาคใต้

วันที่ 22 พฤษภาคม 2551

ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์ มอ. หาดใหญ่

เป็นบันทึกแบบสรุปที่ผมจับความเอง อาจจะมีขาดตกบกพร่องไปบ้าง ค่อยติดตามรายงานฉบับสมบูรณ์ที่บันทึกจากเลขาอีกทีนะครับ

เริ่มภาคเช้าด้วยการพูดถึงประสบการณ์ในการบริหารสหกรณ์จาก 4 องค์กร

อ.บรรเจิด สหกรณ์ออมทรัพย์ มอ.

การเพิ่มวงเงินกู้ หรือ เครดิต หากมีการชำระเงินกู้ตรงตามกำหนด

การรวมกลุ่มที่จะใช้เงินกู้ หรือ กู้กลุ่ม ซึ่งภายในกลุ่มจะมีการค้ำประกันซึ่งกันและกัน มีสัญญาใจกันว่า หากใครสร้างความเสียหาย ทุกคนจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน ต้องพัฒนาจิตสำนึก ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีวงเงินกู้ที่ไม่เท่ากัน ต้องอาศัยเวลาและการกระทำเป็นการพิสูจน์ความน่าเชื่อถือ

การจัดกลุ่มอาจจะมีอาชีพที่ใกล้เคียงกัน สอดคล้องกันในแง่ของการนำเงินไปใช้

เงินทุนที่อิ่มตัวจะจัดการอย่างไร สามารถเชื่อมโยงกับข่ายงาน พันธมิตร กับกลุ่มอื่น ๆ ได้ การรวมกันจะเกิดความเข้มแข็งมากขึ้น ยิ่งกลุ่มน้อยเท่าไหร่ยิ่งจะเดินงานยาก economy of scale จะเล็ก

การควบรวมกลุ่มหรือสหกรณ์เช่นที่ญี่ปุ่นได้ดำเนินการมาแล้ว จาก 1 หมื่นสหกรณ์ รวมกันเหลือประมาณ 1 พัน

ปัญหาของการรวมกลุ่มอยู่ที่อะไรบ้าง เช่นเมื่อมีการรวมกลุ่มอาจจะมีกรรมการถามว่าแล้วฉันจะอยู่ตรงไหน แต่ไม่ถามถึงผลประโยชน์ที่กลุ่มควรจะได้รับ ซึ่งเจ้าภาพจะต้องยอมสลายบทบาทของตนเองเพื่อให้กลุ่มเคลื่อนให้ได้ เช่นใน 1 อำเภอมี 1 กองทุน และมีสำนักงานย่อยอยู่ในแต่ละชุมชน

การรวมกลุ่มจะทำให้มีอำนาจต่อรองสูงกว่า เช่นการนำเงินไปฝากธนาคารก็จะมีดอกเบี้ยที่สูงขึ้น

สหกรณ์ มอ. เริ่มจากการระดมทุนเพื่อให้สวัสดิการสร้างบ้านให้กับบุคลากร โดยการระดมทุนด้วยการให้สมาชิกนำเงินออมที่ฝากธนาคารมาฝากกันสหกรณ์ และนำเงินให้สมาชิกกู้เพื่อนำไปสร้างบ้านในดอกเบี้ยที่ถูกกว่า

มีการเพิ่มสวัสดิการอื่น ๆ ให้กับสมาชิก แต่สมาชิกยังขาดความเข้าใจในระบบสหกรณ์ มีความเข้าใจเพียงว่าถ้ามากู้ต้องดอกเบี้ยต่ำ เงินฝากต้องได้ดอกเบี้ยสูง

มีการสร้างจิตสำนึก สร้างค่านิยม

การเงินกับบัญชีต้องมีระบบ และระบบบัญชีต้องแข็งมาก

กลุ่มออมทรัพย์ทั่วไป การผูกอยู่กับประธานกลุ่มมากเกินไป เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหรือสืบทอดรุ่นต่อไป ระบบอาจลดความน่าเชื่อถือลง

การจดทะเบียนเป็นสหกรณ์จะดีกว่า เพราะจะทำให้ระบบการบริหารต่าง ๆ มีความชัดเจนขึ้น ระบบเอกสารจะต้องมีรูปแบบที่ชัดเจน ในชุมชนมีผู้ที่มีความรู้ในเรื่องเอกสารอยู่

กรณีเจ้าหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติงานเต็มเวลา หากกองทุนมีขนาดเล็กก็จะเกิดภาระกับกองทุน แต่หากมีการรวมกลุ่มกันให้ใหญ่ขึ้น ก็จะสามารถมีผู้ปฏิบัติเต็มเวลาได้ เจ้าหน้าที่การเงินกับบัญชีจะต้องแยกออกจากกัน

เครดิตยูเนียนจะมีวัตถุประสงค์มากกว่าสหกรณ์ สามารถซื้อปัจจัยยังชีพมาขาย เปิดเป็นร้านค้าได้ ส่งเสริมการลงทุนได้ ตั้งโรงงานแปรรูปได้ สหกรณ์ออมทรัพย์ไม่สามารถดำเนินธุรกรรมเรื่องอื่นได้ ทำได้แต่เรื่องเงินอย่างเดียว

การจดเครดิตยูเนียน จดได้ที่จังหวัด

สมภพ พานทอง ธกส.

ปัญหาสมาชิกมีรายได้ประจำที่ไม่ชัดเจน ทำให้การเติบโตเป็นไปได้ช้า

การเตรียมการหลังการจดทะเบียน เพื่อรองรับกระบวนการทางการเงิน

กลุ่มออมทรัพย์นักพัฒนามีการกำจัดคุณสมบัติของสมาชิกหลายประการ จำเป็นต้องมีการขยายฐานสมาชิกให้เพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันมีสมาชิกจังหวัดละไม่กี่คน

ข้อดี ข้อเสีย คือการตรวจสอบตามกฎหมาย ซึ่งจะต้องมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ามาดูข้อมูล ซึ่งกระบวนการนี้จะต้องทำใจ เพราะอาจจะถูกตรวจสอบ ถูกแกล้งได้ เนื่องจากมีการเปิดช่องทางกฎหมายให้ตรวจสอบได้

หากจะจดต้องเตรียมวัตถุประสงค์ให้กว้าง เนื่องจากเรามีการดำเนินการหลายอย่าง

มีหลายองค์กรที่ไม่ยอมจดทะเบียน เพราะติดที่ระบบกฎหมาย

กองทุนหมู่บ้าน เป็นธนาคารชุมชน มีข้อจำกัดคือสมาชิกต้องเป็นคนในชุมชนเท่านั้น สามารถดำเนินธุรกรรมได้หลากหลาย

รูปแบบไหนที่เหมาะสมสอดคล้องกับที่มาของการรวมกลุ่มของกลุ่มออมทรัพย์

บรรจง นะแส

ระบบบัญชีที่มีอยู่ยังไม่เป็นระบบที่สร้างความน่าเชื่อถือให้กับสมาชิกที่จะนำเงินออมจากแหล่งอื่น มาออมไว้ในกลุ่มออมทรัพย์

??

การดำเนินงานของ ngo กับรัฐค่อนข้างจะไม่ไปด้วยกัน หากจะจดทะเบียนต้องพร้อมที่จะถูกตรวจสอบ แต่ถ้าดำเนินการตามระเบียบก็ไม่ต้องกลัว ซึ่งหมายถึงต้องพร้อมก่อน คิดว่าเครดิตยูเนียนจะเหมาะสมกว่า เพราะสามารถดำเนินงานได้กว้างกว่า เครือข่ายที่กระจายเป็นวงกว้าง สามารถลงทุนได้หลากหลาย รูปแบบที่เป็นเครือข่าย มีการกระจายอยู่ตามชุมชนต่าง ๆ

ต้องถามใจตัวเองก่อนว่าพร้อมที่จะถูกตรวจสอบหรือไม่

สหกรณ์ออมทรัพย์มุสลิม ??

ระบบอิสลามมีรูปแบบคือเป็นระบบที่ปลอดจากดอกเบี้ย

อยากจะถามว่าเราจะมุ่งไปข้างหน้าอย่างไร เราต้องการอะไร ต้องตอบให้ชัดเจนก่อน

สมาชิกเรามีรูปแบบหลากหลาย ราชการ ชาวบ้าน ทุกระดับ หลากหลายอาชีพ

สิ่งที่ต้องเน้นคือระบบ โดยเฉพาะระบบบัญชี ทุกอย่างต้องชัดเจน

สมภพ พานทอง

การขยายฐานสมาชิก เพื่อให้มีการออมที่มากขึ้น มีเงินทุนสำรองสูงขึ้น

ระเบียบการใช้จ่ายและการบริหารการเงินที่ชัดเจน มีความเป็นมืออาชีพพอสมควร ทำความเข้าใจเป้าหมายกับสมาชิก

ต้องสร้างความคิดให้สมาชิกมองว่าเป็นการสร้างอนาคตระยะยาว ไม่ใช่แค่สวัสดิการหรือเงินกู้

ประเด็นเรื่องชื่อของกลุ่ม หากมีความเป็นกลางจะทำให้การดำเนินการหลายอย่างง่ายขึ้น

??

ทิศทางหรืออุดมการณ์ของกลุ่มเป็นสิ่งที่ต้องคิดและคุยกัน น่าจะมีการประชุมสมาชิกครึ่งปีเพื่อหาแนวทาง เพื่อหารูปแบบไหนในการที่จะเติบโตต่อไป

เอกชัย อิสะระทะ

ระบบข้อมูลเรายังไม่แน่น เช่นยังไม่รู้ว่ามีสมาชิกจำนวนกี่ครอบครัวกันแน่

ระดมความคิดเห็น

  • ส่งเสริมให้มีการออม
  • เปิดสินเชื่อพิเศษ
  • การหักเงินเดือนเพื่อชำระเงินกู้ เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ในบางองค์กร
  • การสร้างจิตสำนึกของคน
  • องค์กรนี้มีไว้สำหรับพึ่งพิงของทุกคน
  • การมีกลุ่มออมทรัพย์เป็นการสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อน และยังสามารถช่วยเหลือเพื่อน ๆ ได้อีกด้วย ต้องสร้างความมั่นใจในความโปร่งใสขององค์กรให้ได้
  • กลุ่มออมทรัพย์สามารถทำให้ตนเองทำการออมเงินได้ทุกเดือน
  • การตอบสนองความเดือดร้อนฉุกเฉิน การประกอบอาชีพ สวัสดิการ
  • การบริหารจัดการมีความพร้อมเพียงใด จำเป็นต้องสะสางอะไรบ้าง
  • เสน่ห์ของกลุ่มออมทรัพย์อยู่ที่การรอมชอมกัน ซึ่งระบบอื่นอาจจะทำไม่ได้
  • ต้องมีความฝัน ต้องตั้งธงเอาไว้ เพื่อให้มีกำลังเดินต่อไป
  • อยากให้ศึกษาข้อมูลสหกรณ์ที่หลากหลายรูปแบบมากกว่านี้ เช่นที่อ.วิทยากร เชียงกูลได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากหลาย ๆ ประเทศ ลองศึกษารูปแบบใหม่ ๆ เช่น สหกรณ์ประมงของญี่ปุ่น สหกรณ์ผู้บริโภคของแคนาดา
  • บทลงโทษทางสังคมคงต้องมีในกรณีที่เกิดปัญหาการชำระหนี้ อย่าให้เป็นภาระของกรรมการทั้งหมด
  • หาบุคลิกของรูปแบบสหกรณ์ที่เหมาะสมกับบุคลิกของกลุ่ม
  • ต้องมีระยะเวลาว่าจะเริ่มทำเมื่อไหร่ จะทำเสร็จเมื่อไหร่
  • วิตกเรื่องสมาชิก เนื่องจากบางคนอยู่ไม่นาน ไม่มีเงินเดือนประจำ การรับสมาชิกก็ต้องมีคนรับรองเช่นหัวหน้าองค์กร ซึ่งคนในกลุ่มจะต้องรับผิดชอบในกรณีเงินกู้
  • ต้องมีคนจัดการเป็นกลุ่มย่อย และต้องรับผิดชอบในกลุ่มจริง ๆ การให้เครติดกลุ่ม
  • ส่วนใหญ่ต้องการให้วางแนวทางในการยกระดับและพัฒนา แต่ให้ศึกษารูปแบบที่หลากหลาย
  • ประเด็นแรกต้องปรับปรุงรูปแบบการบริหาร ระบบบัญชี ระบบการเงิน ซึ่งควรเริ่มได้เลยในการเตรียมความพร้อม ถึงแม้จะไม่มีการเป็นสถาบันการเงิน แต่ก็ต้องปรับปรุงระบบทางเทคนิคให้เป็นมาตรฐานสากลเทียบเท่ากับสากล
  • ประเด็นการเป็นสถาบันการเงินจะสามารถแก้ปัญหาหรือหนุนเสริมสมาชิกได้หรือไม่
  • ประเด็นจิตสำนึก ซึ่งต้องศรัทธาในการอยู่ร่วมกันก่อน
  • นิติบุคคลเพื่อให้มีโอกาสขยายธุรกรรมทางการเงินได้ เช่นการรับจำนองที่ดินของสมาชิก ซึ่งเป็นเทคนิคที่ทำให้สามารถเพิ่มความหลากหลายของธุรกรรมทางการเงิน
  • สร้างภาระกิจธุรกรรมทางการเงินทดแทนธนาคาร ธุรกิจให้กู้เงินเช่นเฟิร์สช้อย
  • การจับกลุ่มเพื่อความเข้มแข็ง ในการปล่อยเครดิตเงินกู้ และความรับผิดชอบเงินกู้ร่วมกันในกลุ่ม สามารถทำได้เลย
  • น่าจะมีคณะผู้ก่อตั้งสถาบันทางการเงิน ไม่น่าจะเป็นภาระกิจของคณะกรรมการที่มีอยู่เพียงฝ่ายเดียว
  • แยกกลุ่มรายชื่อตามวงสัมพันธ์ เป็นกลุ่มตามธรรมชาติ ที่ทุกคนมีความเห็นร่วมกัน รับผิดชอบร่วมกัน
  • การโอนเงินผ่านธนาคาร การตรวจสอบยอดเงินโอนโดยไม่ต้องไปธนาคาร



สามารถฟังบันทึกเสียงการประชุมได้ : บันทึกเสียงการประชุมภาคเช้า และ บันทึกเสียงการประชุมภาคบ่าย

ส่วนรายงานฉบับสมบูรณ์ ผมจะเอามาใส่ให้อ่านนะครับ คอยต้นฉบับอยู่

Relate topics