ประชุมกรรมการกลุ่มออมทรัพย์นักพัฒนาภาคใต้ ประเด็นการพัฒนากองทุนสวัสดิการบำนาญ ครั้งที่ ๑

by kamoltip @27 เม.ย. 64 17:33 ( IP : 124...41 ) | Tags : ข่าวสารประชาสัมพันธ์
  • photo  , 960x540 pixel , 379,481 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 287,469 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 287,469 bytes.

ประชุมกรรมการกลุ่มออมทรัพย์นักพัฒนาภาคใต้ ประเด็นกองทุนบำนาญ ครั้งที่ ๑

วันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๔ ผ่านระบบ ZOOM

เนื้อหา

๑.กรอบคิด

๑.๑.ระบบบำนาญที่สะสมแล้วคืนเงินเมื่อเกษียณ

๑.๒.บำนาญจากฐานทรัพยากร เช่น ต้นไม้ กล้าไม้ การรักษาสิ่งแวดล้อมและบริการทางสังคม

๒.รูปแบบ

๑)ร่วมกับชุมชน  เช่น กลุ่มพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน  ประมงพื้นบ้าน/ควนขันสตูล ข้าวหลามอะซูลอ / พันธุ์ไม้พื้นบ้าน  ของใช้มือสอง  ปลูกต้นไม้ในพื้นที่แปลงของสมาชิกในพื้นที่ทุ่งนุ้ย

๒)การลงทุนในลักษณะเงินเป็นตัวตั้ง การลงทุนด้วยเงินก็ต้องได้เงิน

๓.ข้อเสนอแนะ

๑)ออกแบบคิดวิธีการ ผลตอบแทนร่วมระหว่างชุมชนกับกลุ่มออมทรัพย์ฯ

๒)การนำเงินมาลงทุนในการประกอบการ ตั้งเป้าว่าจะได้ผลกำไรเท่าไรอย่างไร หากผลตอบแทนต้องได้มากกว่า ๑ ล้าน อะไรคือสิ่งที่จะสร้างผลกำไรได้ เช่น ต้นไม้จะใช้วิธีอย่างไร ซึ่งต้องเรียนรู้ผ่านกระบวนการทำ

๓)ดูทรัพยากรของกลุ่มฯว่ามีอะไรเป็นต้นทุน จะระดมทุนจากสมาชิกอย่างไร

๔)บทเรียนเรื่องบำนาญสีเขียวที่มีเป็นกรณีศึกษา โดยถอดบทเรียนใหญ่ๆ ในรอบ ๖ เดือน

๕)บำนาญไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเงิน เงินเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่ง ไม่ได้หวังผลกำไรมากนัก แลกเปลี่ยนร่วมกันในอีก ๓ เดือนครั้งหน้า

๖)การบำนาญต้องเป็นลักษณะการลงทุน หล่อเลี้ยงคนทำงานให้มีรายได้สามารถอยู่ได้

๗)การลงทุนต้องได้เงิน ลงทุนเท่าไหร่ จะได้เงินเท่าไหร่ คนคิดต้องเป็นคนทำ และต้องคิดว่าทำแล้วคนทำงานจะอยู่ได้อย่างไร ได้เงินเท่าไหร่ เช่น การขายต้นไม้ต้องขายให้ได้ก่อนค่อยมาปลูก ไม่ใช่ปลูกแล้วค่อยมาขาย

๘)ต้องคิดให้ชัดตั้งแต่ต้นว่าเราต้องการอะไร จะทำอะไร ต้องคำนึงถึงผลแทนที่จะได้รับ

๙)ธุรกิจชุมชนที่มีอยู่แล้วในกลุ่มนักพัฒนา ธุรกิจไหนที่ทำแล้วได้กำไร กลุ่มฯลงหุ้นร่วมและกำกับทิศทาง มีกลไกกรรมการเพิ่ม และนำเงินมาปันผลร่วมกันในแต่ละปี หรือธุรกิจเอสเอ็มอี ที่ทำแล้วมีผลกำไร ก็สามารถเป็นหุ้นส่วนร่วมกันได้ หรือร่วมกับบริษัทที่แพ็บทำอยู่

๑๐)จังหวะก้าวที่เดินร่วมกับชุมชนต้องใช้เวลา ไม่ได้ปฏิเสธว่าไม่เอาเงิน เพียงแต่เงินไม่ใช่ปัจจัยหลัก ซึ่งออกแบบทั้งสองแบบให้คู่กัน และคาดหวังว่าคนทำงานอยู่รอดและชุมชนอยู่ได้ ซึ่งต้องใช้เวลาในการศึกษารูปแบบ ทำอย่างไรให้อยู่รอดได้ โดยตั้งเป้าว่าให้ทุกคนมาช่วยกัน และมีผลตอบแทนที่มีทรัพยากรที่เพิ่มขึ้น และมีชุมชนในพื้นที่เพิ่มขึ้น

๑๑)ออมทรัพย์มีเวลาพูดคุยแลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเปิดพื้นที่ให้มีการแลกเปลี่ยนและวิธีคิดที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งผสมผสานวิธีคิดที่มีจุดสมดุลให้ทุกฝ่ายทำงานไปด้วยกันได้  โดยกลับไปที่ฐานชุมชนหากฐานชุมชนไม่แข็งแรง อย่างอื่นก็ไม่แข็งแรง

๑๒)รูปแบบในพื้นที่ เช่น พื้นที่ที่มณเฑียร จ.ชุมพร ในเรื่องของสมุนไพร ในลักษณะการซื้อขายล่วงหน้า  / กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์จันทร์บุรี / กลุ่มปฐวีโมเดล

๑๓)เรียนรู้จากบทเรียนในที่อื่น ๆ และการเตรียมความพร้อมของชุมชน หากผ่านการถกเถียงแลกเปลี่ยน เพื่อให้เห็นเป็นกิจกรรมที่เริ่มต้นไปด้วยกัน

๑๔)สิ่งที่ออมทรัพย์เริ่มได้เลย ไม่จำเป็นต้องลงทุนที่เป็นเงินก่อน แต่เป็นไปในลักษณะการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อถกให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

๔.แนวทาง

๑)มีวงแลกเปลี่ยนต่อเนื่อง เพื่อพูดคุยให้มีการตกผลึกกันมากขึ้น เชิญชวนคนอื่นที่สนใจเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยน โดยกลุ่มออมทรัพย์ฯเป็นกลไกประสาน

๒)Mapping ข้อมูลจากกลุ่มต่าง ๆ ที่ทำมาแล้วและมีรายได้ และวิธีการทำงานที่กลุ่มดำเนินการ มีอยู่ที่ไหน แบบไหน อย่างไร จะหาใครมาช่วยได้บ้าง

ปราณี วุ่นฝ้าย  บันทึกข้อมูล

Relate topics